ฝ่ายสนับสนุนวัฒนธรรม (วัฒนธรรมนิยม) ของ โลกาภิวัตน์

เศรษฐกิจ


ผู้สนับสนุนการค้าเสรีอ้างว่า การเพิ่มความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจรวมทั้งโอกาส โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ได้ช่วยส่งเสริมให้เสรีภาพของพลเมืองดีขึ้นและนำไปสู่การกระจายทรัพยากรที่ดีขึ้น ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เรื่อง “ข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ( comparative advantage) ชี้ให้เห็นว่าการค้าเสรีนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการกระจายทรัพยากรที่ทุกประเทศได้รับประโยชน์จากการค้า ซึ่งโดยทั่วไปจะทำให้ราคาสินค้าลดลง มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ผลผลิตสูงขึ้นและมาตรฐานการดำรงชีวิตในประเทศกำลังพัฒนาดีขึ้น.[7][8]

หนึ่งในคำเหน็บแนมที่มีต่อความสำเร็จของจีนและอินเดียเมื่อเร็วๆ นี้ คือการกลัวว่า..... ความสำเร็จของสองประเทศนี้เกิดขึ้นได้ด้วยค่าใช้จ่ายของอเมริกา ความกลัวนี้ โดยพื้นฐานแล้วนับว่าผิดและยังอันตรายมากด้วย ที่ว่าผิดก็เนื่องจากโลกไม่ได้ดิ้นรนกระเสือกกระสนแบบมีแพ้มีชนะ..... แต่เป็นโอกาสในเชิงบวกแก่ทั้งสองฝ่ายมากกว่าเนื่องจากการปรับปรุงทางเทคโนโลยีและทักษะที่เกิดขึ้นจะช่วยยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของโลกโดยรวม

Jeffrey D. Sachs

ฝ่ายอิสรนิยม ( Libertarians) และฝ่ายสนับสนุนระบบทุนแบบเสรีนิยม ( laissez-faire capitalism]) กล่าวว่าระดับที่สูงขึ้นของเสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพทางเศรษฐกิจในระบบประชาธิปไตยในประเทศกำลังพัฒนาจบลงได้ในตัวเองและสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจได้ในระดับสูงกว่า พวกเขามองโลกาภิวัตน์ว่าเป็นการกระจายตัวของเสรีภาพและระบบทุนนิยม [7]

ฝ่ายสนับสนุนโลกาภิวัตน์แบบประชาธิปไตยในบางครั้งถูกเรียกว่า “pro-globalists” หรือนักโลกาภิวัตน์พวกนี้เชื่อว่าโลกาภิวัตน์ช่วงแรกซึ่งเน้นการตลาดควรตามาด้วยขั้นการสร้างสถาบันทางการเมืองรับโลกที่เป็นตัวแทนประชากรโลก ที่แตกต่างกับโลกาภิวัตน์อื่นๆ ตรงที่ไม่มีการบ่งชี้คตินิยมหรืออุดมการณ์ใดๆ ล่วงหน้าเป็นการนำทาง แต่จะปล่อยในประชาคมโลกเลือกเอาเองผ่านกระบวนการประชาธิปไตย [ต้องการอ้างอิง].

บางคน เช่นสมาชิกวุฒิสภาแคนาดาคือ ดักลาส โรช มองโลกาภิวัตน์อย่างง่ายๆ ว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งสถาบัน เช่น สภาสหประชาชาติ ที่ได้สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ดูแลสมาชิกสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้วโดยตรง

ฝ่ายสนับสนุนโลกาภิวัตน์อ้างเหตุผลสนับสนุนว่า ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ใช้หลักฐานเล็กๆ น้อยๆ หรือเกร็ด[ต้องการอ้างอิง] มาใช้ในการปกป้องมุมมองของตนในขณะที่สถิติที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกสนับสนุนโลกาภิวัตน์:

  • จากปี พ.ศ. 2524พ.ศ. 2543 ตามตัวเลขของธนาคารโลก จำนวนประชากรที่มีรายได้ $ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือน้อยกว่าในภาพรวม ลดจาก 1.5 พันล้านคนมาเหลือ 1.1 พันล้านคน ในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้น หากคิดเป็นร้อยละจะเท่ากับลดจากร้อยละ 40 ลงเหลือร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร [9]

ด้วยการยกระดับทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็นอย่างมากและรวดเร็วได้ทำให้กำแพงที่ขวางกั้นการค้าและการลงทุนลดลงเป็นอย่างมากด้วย แต่กระนั้น นักวิจารณ์บางคนก็ยังอ้างเหตุผลว่า ควรนำตัวแปรที่มีรายละเอียดมากกว่านี้มาวัดความยากจนแทนการใช้เพียงตัวเลขธนาคารโลก [10].

  • อัตราร้อยละของประชากรที่ดำรงชีวิตด้วยรายได้น้อยกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐ ก็ได้ลดลงมากในพื้นที่ที่ถูกอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ในขณะที่พื้นที่อื่นยังคงเดิม ในเอเชียตะวันออกรวมทั้งจีน ตัวเลขลดลงถึงร้อยละ 50.1 เทียบกับการเพิ่มจากเดิมร้อยละ 2.2 พื้นที่แอฟริกาแถบใต้ซะฮารา .[8]
พื้นที่ประชากร25242527253025332536253925422545ร้อยละที่เปลี่ยนระหว่าง 2524-2545
เอเชียตะวันออกและแปซิฟิกน้อยกว่า $1 ต่อวัน57.7%38.9%28.0%29.6%24.9%16.6%15.7%11.1%-80.76%
น้อยกว่า $2 ต่อวัน84.8%76.6%67.7%69.9%64.8%53.3%50.3%40.7%-52.00%
ละตินอเมริกาน้อยกว่า $1 ต่อวัน9.7%11.8%10.9%11.3%11.3%10.7%10.5%8.9%-8.25%
น้อยกว่า $2 ต่อวัน29.6%30.4%27.8%28.4%29.5%24.1%25.1%23.4%-29.94%
แอฟริกาแถบใต้ซะฮาราน้อยกว่า $1 ต่อวัน41.6%46.3%46.8%44.6%44.0%45.6%45.7%44.0%+5.77%
น้อยกว่า $2 ต่อวัน73.3%76.1%76.1%75.0%74.6%75.1%76.1%74.9%+2.18%

'ที่มา: ธนาคารโลก, การประมาณความยากจน, 2545[8]

  • ความไม่เท่าเทียมของรายได้ ( Income inequality) ของโลกโดยรวมนับได้ว่าลดลง .[11] จากข้อมูลและประเด็นที่มี พบว่ามีความไม่ต้องตรงกันในความเห็นเกี่ยวกับอัตราการลดลงของความยากจนขั้นต่ำสุด ความไม่เท่าเทียมของรายได้ของประชากรโลกโดยรวมกำลังลดลง [12] ดังหมายเหตุข้างล่าง ก็ยังมีความไม่ลงรอยในประเด็นนี้อยู่ การวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ ซาเวียร์ ซารา-ไอ-มาร์ติน (Xavier Sala-i-Martin) เมื่อ พ.ศ. 2550 ยกเหตุผลว่าไม่ถูกต้อง ความไม่เท่าเทียมในรายได้ของประชากรโลกโดยรวมได้ลดลง แต่ไม่ว่าใครจะถูกหรือไม่ถูกในเรื่องแนวโน้มที่ผ่านมาของความไม่เท่าเทียมของรายได้ก็ตาม ก็ยังมีให้ยกเหตุผลโต้แย้งว่าการปรับปรุงหรือขจัดความจากจนโดยรวมมีความสำคัญมากกว่าความมากน้อยของช่องว่างของความไม่เท่าเทียมของรายได้
  • พยากรณ์ชีพ ( Life expectancy) หรืออายุขัยเฉลี่ยของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาได้เพิ่มเป็น 2 เท่านับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาและช่องว่างของความแตกต่างกำลังลดลงเรื่อยๆ แม้ในแอฟริกาแถบใต้ซะฮารา ภูมิภาคที่พัฒนาน้อยที่สุดในโลก อายุขัยเฉลี่ยประชากรเพิ่มจากเมื่อ 30 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเป็น 50 ปีก่อนที่การระบาดของโรคเอดส์ และโรคอื่นๆ จะดึงตัวเลขลงเหลือ 47 ปี ภาวะการตายของทารก ( Infant mortality) ได้ลดลงในทุกภูมิภาคที่กำลังพัฒนาในโลก[13]
  • ประชาธิปไตย ได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนจากจำนวนประเทศที่มีการเลือกตั้งทั่วไปในโลกที่เกือบนับไม่ได้เลยใน พ.ศ. 2443 มาเป็นร้อยละ 62.5 ในปี พ.ศ. 2543 [14]
  • คตินิยมสิทธิ์สตรี (Feminism) ได้มีความก้าวหน้าขึ้นในพื้นที่เช่นบังคลาเทศด้วยการจัดให้สตรีมีงานทำและได้รับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ [7]
  • สัดส่วนของประชากรโลกที่อาศัยในประเทศที่มีอาหารต่อหัวน้อยกว่า 2,200 แคลอรี (9,200 กิโลจูล) ต่อวันได้ลดลงจากร้อยละ 56 ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2508 มาเหลือร้อยละ 10 ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2538 [15]
  • ระหว่าง พ.ศ. 2493 และ พ.ศ. 2542 อัตราการรู้หนังสือของปราชากรโลกเพิ่มจากร้อยละ 52 มาเป็นร้อยละ 81 โดยสตรีกลับมีช่วงความแตกต่างที่มากกว่า โดยร้อยละของการรู้หนังสือของสตรีต่อบุรุษเพิ่มจากร้อยละ 52 ใน พ.ศ. 2513 มาเป็นร้อยละ 80 ใน พ.ศ. 2543 [16]
  • ร้อยละของการใช้แรงงานเด็กได้ลดจากร้อยละ 24 ใน พ.ศ. 2493 มาเหลือร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2543 [17]
  • มีการเพิ่มในลักษณะแนวโน้มเดียวกันเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า รถยนต์ วิทยุและโทรศัพท์ ต่อหัว รวมทั้งการเพิ่มสัดส่วนประชากรที่มีน้ำสะอาดบริโภค [18]
  • ในหนังสือชื่อ “การปรับปรุงสภาพของโลก” (The Improving State of the World) ได้พบหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้และพบว่ามาตรการที่ใช้ได้ช่วยยกระดับและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้นและว่าโลกาภิวัตน์มีส่วนช่วยอธิบายในเรื่องนี้ และยังให้คำตอบกับเหตุผลโต้แย้งที่ว่าผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกำหนดขีดจำกัด

แม้นักวิจารณ์จะบ่นว่าโลกาภิวัตน์เป็นต้นเหตุของการกลายเป็นตะวันตกก็ตาม รายงานของ ยูเนสโกเมื่อ พ.ศ. 2548 [19] แสดงให้เห็นว่าการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเป็นปรากฏการณ์ร่วมกัน ใน พ.ศ. 2545 จีนเป็นประเทศส่งออกสินค้าวัฒนธรรมใหญ่ที่สุดในโลกรองจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2537 และ พ.ศ. 2545 ทั้งอเมริกาเหนือและสหภาพยุโรปต่างมีอัตราการส่งออกวัฒนธรรมที่ลดลง ในขณะที่การส่งออกวัฒนธรรมของเอเชียเจริญเติบโตล้ำหน้าอเมริกาเหนือ

สังคม

ลานชุมนุมสังคมนานาชาติ (International Social Forums)

ดูบทความหลัก: (European Social Forum) (en:Asian Social Forumฅ Asian Social Forum)( World Social Forum) (WSF)

การประชุมสาธารณะสังคมโลก (WSF) ครั้งแรกเริ่มโดยคณะผู้บริการนครปอร์โตอัลเกร ประเทศบราซิล

คำขวัญที่ใช้ในการประชุมสาธารณะสังคมโลก คือ “อีกโลกหนึ่งก็เป็นไปได้” (Another World Is Possible) ซึ่งได้มีการรับรอง “กฎบัตรแห่งหลักการสังคมโลก” สำหรับใช้เป็นกรอบงานของการประชุมสาธารณะในครั้งต่อๆ ไป

การประชุม WSF กลายเป็นการประชุมที่มีวาระรายปี ใน พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2546 ได้ประชุมที่เดิมคือที่นครปอร์โตอัลเกร และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อต้านสหรัฐไปทั่วโลกในการรุกรานอิรัก ใน พ.ศ. 2547 ได้ย้ายที่ประชุมไปที่บอมเบย์ ในอินเดียเพื่อความสะดวกในการเดินทางมาร่วมประชุมของประชาชนเอเซียและแอฟริกา การประชุมครั้งนั้นมีผู้แทนเข้าร่วมประชุมมากถึง 75,000 คน

ในขณะเดียวกัน การประชุมสาธารณะในระดับภูมิภาคได้เกิดตามตัวอย่างของ WSF ได้รับเอากฎบัตรแห่งหลักการ” มาใช้ด้วย การประชุมสาธารณะสังคมยุโรป (ESF) เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2445 ที่เมืองฟลอเรนซ์ โดยใช้คำขวัญว่า “ต่อต้านสงคราม ต่อต้านการแบ่งเชื้อชาติและต่อต้านเสรีนิยมแนวใหม่" มีผู้แทนเข้าร่วมประชุม 60,000 คนและจบด้วยการประท้วงสงครามที่มีขนาดใหญ่มาก (ผู้จัดประชุมอ้างว่ามีผู้ร่วมประท้วงมากถึง 1,000,000 คน) การประชุมครั้งต่อมาของ ESF มีขึ้นที่ปารีสและลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2548 ตามลำดับ

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการถกเถียงเกี่ยวกับเบื้องหลังของบทบาทของการประชุมสังคมฯ บางคนเห็นว่าเป็น “มหาวิทยาลัยยอดนิยม” เป็นโอกาสที่จะให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาของโลกาภิวัตน์ อีกหลายคนเห็นว่าผู้แทนที่เข้าประชุมควรเน้นในการประสานงานและการจัดรูปองค์การของขบวนการและวางแผนการรณรงค์ครั้งต่อๆ ไปมากกว่า อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้อ้างเหตุผลมาโต้ว่า สำหรับประเทศใหญ่ๆ ทั้งหลายในโลกมองว่า WSF เป็นเพียง “งานหมกรรมเอ็นจีโอ” ที่ผลักดันโดยเอ็นจีโอฝ่ายเหนือและผู้บริจาคซึ่งทั้งหมดเป็นปฏิปักษ์ต่อขบวนการคนจน [20]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โลกาภิวัตน์ http://www.caei.com.ar/en/home.htm http://www.forumsocialmundial.org.br/index.php?cd_... http://www3.fis.utoronto.ca/research/iprp/c3n/CI/D... http://convention.allacademic.com/asa2003/view_pap... http://www.gavinkitching.com/africa_3.htm http://www.nytimes.com/2007/01/25/business/25scene... http://www.oxfordleadership.com/DataFiles/homePage... http://www.pastor-russell.com/legacy/giants.html http://reason.com/news/show/34961.html http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR...